วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

พันธะไอออนิก [Ionic Bond]

       พันธะไออนิก [Ionic Bond] คือ พันธะที่ประกอบไปด้วยแรงดึงดูดทางไฟฟ้า (ไออนบวก-ไอออนลบ) พันธะไอออนิกเกิดจากการรวมตัวกันของโลหะกับอโลหะ (โลหะให้อิเล็กตรอนแก่อโลหะ) ซึ่งเป็นไปตาม กฏออกเตต (หรือมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนวงนอกสุดเท่ากับแปด) ดั้งนั้นโลหะจึงกลายเป็นไอออนบวกเมื่อโลหะได้ให้อิเล็กตรอนแก่อโลหะจึงทำให้โปรตอนของโลหะมากกว่าอิเล็กตรอน และอโลหะรับอิเล็ก ตรอนของโลหะมาทำให้กลายเป็นไอออนลบโดยชิงเชิงเพราะว่าอิเล็กตรอนมีมากกว่าโปรตอน เมื่อไอออนบวกกับไอออนลบมาเจอกันในอะตอมจะทำให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกกับไอออนลบแรงดึงดูดนี้คือ พันธะไอออนิก

โครงสร้างของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบจัดเรียงตัวสลับกันไปอย่างมีระเบีบย ทำให้มีโครงสร้างของสารประกอบไอออนิกที่แน่นอนในการจัดเรียงตัวของไอออนบวกและไอออนลบ

การจักเรียงไอออนิกของ NaCl


การเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
*เลขออกซิเดชันได้ค่าเดียว*
อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวกตามด้วยชื่่อของอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนแต่เสียงพยางค์สุดท้ายเป็น ไ_ด์
*เลขออกซิเดชันหลายค่า*
อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวกขึ้นก่อนแล้วตามด้วยค่าของเลขออกซิเดชันของโลหะ โดยเปลี่ยนแต่เสียงพยางค์สุดท้ายเป็น ไ_ด์

สมบัติของไอออนิก
*สารประกอบไอออนอกทุกชนิดเป็นของแข็ง ณ อุณภูมิห้อง (แต่เปราะ)
*สารประกอบไอออนิกไม่นำไฟฟ้า
*สารประกอบไอออนิกมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง
*สารประกอบไอออนิกบางชนิดละลายน้ำและบางชนิดไม่ละลายน้ำ

สมการไอออนิก [Ionic Equation]
สมการไอออนิก [Ionic Equation] คือ เขียนสมการเฉพาะไอออนหรือสารที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาเท่านั้น
*หลักการเขีย*
*เขียนเฉพาะไอออนหรือสารที่มีส่่วนร่วมในการทำให้เกิดปฏิกิริยา
*สารไม่แตกตัวเป็นไอออนหรือแตกตัวได้น้อยลง (สำหรับสารที่ไม่ละลายน้ำ)
*สมการสมดุล ต้องดุลทั้งจำนวนอะตอมและจำนวนไอออน